Wednesday, August 10, 2011

ข้อหา : ครอบครอง

ประเภท 1
 - คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม จำคุก 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท (มาตรา 67)
- คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 20 กรัมขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย (มาตรา 15 วรรค 2, มาตรา 66
ประเภท 2
 - คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 100 กรัม จำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท (มาตรา 69 วรรค 1)
- ถ้าเป็นมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 100 กรัม จำคุก 3 ปี ถึง 20 ปี และปรับ 30,000 บาท ถึง 200,000 บาท (มาตรา 69 วรรค 3) 
- คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 100 กรัมขึ้นไปถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย (มาตรา 17 วรรค 2, มาตรา 69 วรรค 2, 4)
ประเภท 3 - (ไม่มีระบุ)
ประเภท 4
 - ไม่ถึง 10 กิโลกรัม จำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท
- 10 กิโลกรัมขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท (มาตรา 26, 74)
ประเภท 5
 - ไม่ถึง 10 กิโลกรัม จำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท
- 10 กิโลกรัมขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 2 ปี ถึง 15 ปี และปรับ 20,000 บาท ถึง 150,000 บาท (มาตรา 26, 76)
- ถ้าเป็นพืชกระท่อม จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 76 วรรค 3
ข้อหา : เสพ

ประเภท 1
 - จำคุก 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับ 5,000 บาท ถึง 10,000 บาท (มาตรา 91)
ประเภท 2
 - จำคุก 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับ 5,000 บาท ถึง 100,000 บาท (มาตรา 91)
ประเภท 3 - (ไม่มีระบุ)
ประเภท 4- (ไม่มีระบุ)
ประเภท 5
 - จำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท (มาตรา 92 วรรค 1)
- ถ้าเป็นพืชกระท่อม จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท (มาตรา 92 วรรค 2)
ข้อหา : ใช้ให้ผู้อื่นเสพ

ประเภท 1
 - ผู้ใช้ต้องระวางโทษเป็น 2 เท่า และถ้ากระทำต่อหญิง หรือผู้ไม่บรรลุนิติภาวะ โทษประหารชีวิต (มาตรา 93 วรรค 5)
ประเภท 2
 - จำคุก 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท (มาตรา 93 วรรค 1)
- ถ้าเป็นมอร์ฟีนหรือโคคาอีน ผู้ใช้ต้องระวางโทษเพิ่มอีกกึ่งหนึ่ง ถ้าทำต่อหญิงหรือผู้ไม่บรรลุนิติภาวะจำคุกตลอดชีวิตและปรับ 200,000 บาท ถึง 500,000 บาท (มาตรา 93 วรรค 4)
ประเภท 3     (ไม่มีระบุ)
ประเภท 4     (ไม่มีระบุ)
ประเภท 5     จำคุก 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท (มาตรา 93 วรรค 1)
หมายเหตุ

1 .) - ผู้ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใดให้ผู้อื่นเสพ จำคุก 1 ปี ถึง 10 ปี แลปรับ 10,000 ถึง 100,000 บาท (มาตรา 93 วรรค 1)
- ถ้าผู้ใช้มีอาวุธ หรือตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป จำคุก 2 ปี ถึง 15 ปี และปรับ 20,000 ถึง 150,000 บาท (มาตรา 93 วรรค 2)
- ถ้ากระทำต่อหญิง ผู้ไม่บรรลุนิติภาวะ เพื่อจูงใจให้ผู้อื่นทำผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์ตนเองหรือผู้อื่นในการกระทำผิดอาญา จำคุก 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 30,000 ถึง 50,000 บาท (มาตรา 93 วรรค 3)
- ถ้าวัตถุแห่งการกระทำผิด เป็นมอร์ฟีนหรือโคคาอีนเพิ่มโทษอีกกึ่งหนี่ง และถ้าเป็นการกระทำต่อหญิงหรือผู้ไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 500,000 บาท (มาตรา 93 วรรค 4)
- ถ้าเป็นยาเสพติดประเภท 1 ต้องระวางโทษเป็นสองเท่า และถ้าเป็นการกระทำต่อหญิงหรือผู้ไม่บรรลุนิติภาวะต้องโทษประหารชีวิต (มาตรา 93 วรรค 5)
2.) ถ้ากำลังรับโทษอยู่หรือภายใน 5 ปี นับแต่พ้นโทษได้กระทำผิดกฎหมายนี้อีกให้เพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลลงครั้งหลัง (มาตรา 97
3.). กรรมการ อนุกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด เจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล หรือสภาท้องถิ่นอื่น ข้าราชการ พนักงาานส่วนท้องถิ่น พนักงานองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใด ผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติด สมคบหรือสนับสนุนช่วยเหลือความผิด 5 ฐานข้างต้น ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น (พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2500 มาตรา 100 และ พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10)
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ 2522 / พ.ร.ก.ป้องกันการใช้สารระเหย 2533 / พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามฯ 2534[1]

อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติด
เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในฐานะผู้บังคับใช้กฎหมายในการดำเนินงานป้องกันและ              ปราบปรามยาเสพติดของประเทศ โดยใช้อำนาจหน้าที่ภายใต้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๑๙ ที่บัญญัติไว้ เจ้าพนักงาน ป.ป.ส.จึงนับเป็นส่วนสำคัญต่อผลสำเร็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นอย่างมาก ดังนั้นบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. จึงมีลักษณะสำคัญ ๔ ด้าน ดังนี้
๑. ด้านอำนาจ
          เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. มีอำนาจในการบังคับตามมาตรการต่าง ๆ เพื่อดำเนินการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พอพิจารณาได้ ๒ ลักษณะ คือ
          ลักษณะแรก    เจ้าพนักงานมีอำนาจตามกฎหมายเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
          คือ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เช่น มีอำนาจจับกุมบุคคลที่กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ค้นบุคคลหรือยานพาหนะ ค้นเคหสถานหรือสถานที่ใด ๆ สอบสวนผู้ต้องหาที่กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด สอบถามหรือเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำ หรือส่งบัญชีเอกสารหรือวัตถุ แจ้งข้อหา  ควบคุมผู้ถูกจับและยึดยาเสพติดของกลาง
           ลักษณะที่สอง เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. มีอำนาจตามกฎหมายพิเศษ
            คือ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๑๙
๒.  ด้านความคุ้มครอง
          กรณีเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ใช้อำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายย่อมได้รับความคุ้มครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีบุคคลใดกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. จะต้องรับผิดทางอาญา เช่น ความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ความผิดฐานแจ้งความเท็จ ความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ความผิดฐานข่มขืนใจเจ้าพนักงาน เป็นต้น และสำนักงาน ป.ป.ส.จะให้ความช่วยเหลือในกรณีที่เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
๓. ด้านส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
          เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. บางคนอาจเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจหรือหน้าที่หลัก ซึ่งต้องปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมายในลักษณะพิเศษบางลักษณะอยู่แล้ว เช่น เป็นพนักงานตำรวจ พนักงานฝ่ายปกครอง เป็นข้าราชการพลเรือน เช่น เจ้าหน้าที่ศุลกากร เจ้าหน้าที่สรรพสามิต หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร การได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. จะช่วยให้เจ้าหน้าที่เหล่านั้นมีความเชื่อมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ กล่าวคือ การปฏิบัติภารกิจหลักอาจมีข้อจำกัดทั้งในด้านพื้นที่ ด้านการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือระเบียบภายใน การได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. จะมีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกโดยลดอุปสรรคและข้อจำกัดบางประการได้ ทำให้การปฏิบัติภารกิจหลักมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น การปฏิบัติหน้าที่ของทหารบริเวณชายแดน หรือในเขตน่านน้ำ  การปฏิบัติหน้าที่ของศุลกากรในบริเวณด่านศุลกากรต่าง ๆ เป็นต้น  
          หน่วยงานที่มีเจ้าพนักงาน ป.ป.ส.ในสังกัด และผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงาน       ป.ป.ส. ย่อมเกิดความสำนึกในเรื่องของปัญหายาเสพติด โดยถือเป็นภารกิจและหน้าที่สำคัญเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด นอกจากนี้เจ้าพนักงาน ป.ป.ส.จะได้รับการอบรม ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการใช้อำนาจตามกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด การสืบสวนจับกุม การรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
๔.  ด้านประสานความร่วมมือระหว่างเจ้าพนักงาน ป.ป.ส.ในสังกัดหน่วยงาน          หน่วยงานที่มีเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. จะเกิดความร่วมมือประสานการปฏิบัติเพื่อป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ประสานข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด  ประสานการบังคับใช้กฎหมาย เป็นต้น[2]


[1] อัตราโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522ส่วนพัฒนาสื่อและเทคโนโลยี สำนักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.  เรียนรู้เรื่องยาเสพติด ชีวิตปลอดภัย.  พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพฯ: ส่วนพัฒนาสื่อและเทคโนโลยี, 2545.

[2] สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.ลักษณะสำคัญของการเป็นเจ้าพนักงานปราบปรามยาเสพติด.[ออนไลน์].http://narcof.oncb.go.th/index.php?option=com_content&task=view&id=93&Itemid=56 (วันที่ค้นข้อมูล10สิงหาคม2554)

No comments:

Post a Comment