Wednesday, August 10, 2011

ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด

ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติด
ยาเสพติด หมายถึง สารหรือยาชนิดใด ๆ หรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาติ หรือจากการสังเคราะห์   ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยการกิน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้วจะทำให้เกิดผลต่อร่างกายสมองและจิตใจ[1]
           ความหมายทางกฎหมาย
ยาเสพติดให้โทษ หมายความว่า สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ
ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญเช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อยๆ มีอาการถอนยา  เมื่อขาดยามีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลาและสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กลับให้รวม ถึงพืช หรือ ส่วนของพืชที่เป็น หรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมี ที่ใช้ใน การผลิตยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสำคัญประจำบ้านบางตำรับตามที่กฎหมายว่าด้วยยาที่มี ยาเสพติดให้โทษผสมอยู่
          การแบ่งประเภทของยาเสพติดตามกฎหมาย
แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ
ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑  ได้แก่ เฮโรอีน  แอลเอสดี  แอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า  ยาอี หรือ ยาเลิฟ
          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๒  ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้
การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่
ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือ โคคาอีน โคเคอีน และเมทาโดน
          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๓  ยาเสพติดประเภทนี้  เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ ๒ ผสมอยู่ด้วย
มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่
ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น
มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น

          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๔ คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ หรือประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และ อะเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยน มอร์ฟีน เป็น เฮโรอีน สารคลอซูไดอีเฟครีน สามารถใช้ในการผลิต ยาบ้า ได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก ๑๒ ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้
               ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๕ เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ ๑ ถึง ๔ ได้แก่ ทุกส่วนของพืช กัญชา ทุกส่วนของพืช กระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น[2]





[1]  สำนักงานปราบปรามยาเสพติด.กฎหมายยาเสพติด..ควรรู้ .[ออนไลน์].เข้าถึงได้จากhttp://www.mukdahannews.com/h-ampata.htm,(วันที่ค้นข้อมูล 10สิงหาคม 2554)


กฎกระทรวงว่าด้วยชนิดและประเภท ของยาเสพติด

กฎกระทรวง ว่าด้วยการกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณของยาเสพติด พ.ศ. 2546 ข้อที่ 1-2

อาศัยอำนาจตามความใน
มาตรา 5 และ มาตรา 19 วรรคหนึ่ง แห่ง พระราชบัญญัติ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่ง มาตรา 29 ประกอบกับ มาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 237 และ มาตรา 238 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ลักษณะ ชนิดและประเภทของยาเสพติด สำหรับความผิดฐานเสพยาเสพติดตาม มาตรา 19 วรรคหนึ่ง มีดังต่อไปนี้
(1) ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มี 6 ชนิด ได้แก่
(ก) เฮโรอีน
(ข) เมทแอมเฟตามีน
(ค) แอมเฟตามีน
(ง) 3, 4-เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน
(จ) เมทิลลีนไดออกซีแอมเฟตามีน
(ฉ) เอ็น เอทิล เอ็มดีเอ หรือเอ็มดีอี
(2) ยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 มี 2 ชนิด ได้แก่
(ก) โคคาอีน
(ข) ฝิ่น
(3) ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 มี 1 ชนิด ได้แก่ กัญชา
ยาเสพติดให้โทษตาม (1) และ (2) ให้รวมถึงวัตถุที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น แต่มีสูตรโครงสร้างทางเคมีอย่างเดียวกันกับยาเสพติดให้โทษดังกล่าว และเกลือใดๆ ของยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย
ข้อ 2 ยาเสพติดตาม ข้อ 1 สำหรับความผิดฐานเสพและมีไว้ในครอบครอง ความผิดฐานเสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และความผิดฐานเสพและจำหน่ายยาเสพติด ตาม มาตรา 19 วรรคหนึ่ง ต้องมีปริมาณดังต่อไปนี้
(1) ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1
(ก) เฮโรอีนมีน้ำหนักสุทธิไม่เกินหนึ่งร้อยมิลลิกรัม
(ข) เมทแอมเฟตามีนมีปริมาณไม่เกินห้าหน่วยการใช้ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่เกินห้าร้อยมิลลิกรัม
(ค) แอมเฟตามีนมีปริมาณไม่เกินห้าหน่วยการใช้ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่เกินห้าร้อยมิลลกรัม
(ง) 3, 4- เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนมีปริมาณไม่เกินห้าหน่วยการใช้ ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่เกินหนึ่งพันสองร้อยห้าสิบมิลลิกรัม
(จ) เมทิลลีนไดออกซีแอมเฟตามีนมีปริมาณไม่เกินห้าหน่วยการใช้ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่เกินหนึ่งพันสองร้อยห้าสิบมิลลิกรัม
(ฉ) เอ็น เอทิล เอ็มดีเอ หรือเอ็มดีอี มีปริมาณไม่เกินห้าหน่วยการใช้ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่เกินหนึ่งพันสองร้อยห้าสิบมิลลิกรัม
(2) ยาเสพติดให้โทษในประเภท 2
(ก) โคคาอีนมีน้ำหนักสุทธิไม่เกินสองร้อยมิลลิกรัม
(ข) ฝิ่นมีน้ำหนักสุทธิไม่เกินห้าพันมิลลิกรัม
(3) ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ได้แก่ กัญชามีน้ำหนักสุทธิไม่เกินห้าพันมิลลิกรัม
ยาเสพติดให้โทษตาม (1) และ (2) ให้รวมถึงวัตถุที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นแต่มีสูตรโครงสร้างทางเคมีอย่างเดียวกันกับยาเสพติดให้โทษดังกล่าว และเกลือใดๆ ของยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย
[1]




[3] พงศ์เทพ เทพกาญจนา.กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด.[ออนไลน์] .http://www.kodmhai.com/Kkat/NKkat/Nkkat-9/New/N2.html(วันที่ค้นข้อมูล 10สิงหาคม 2554)
 [2] ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง.ความหมายตามกฎหมาย.[ออนไลน์].http://www.chetupon.ac.th/Yasebtid/Pages/WhatisDrug1.html,(วันที่ค้นข้อมูล 10สิงหาคม 2554)

ยาเสพติดมีกี่ประเภท

ปัจจุบันยาเสพติดมีมากมายหลายร้อยประเภท ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้
1.               แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง
3.               ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มที เห็ดขี้ควาย ยาเค
4.               ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน ( อาจกด กระตุ้น หรือหลอนประสาท ร่วมกัน ) ได้แก่ กัญชา
2.               แบ่งตามแหล่งที่มา
1.               จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา ฯลฯ
2.               จากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน ยาอี เอ็คตาซี ฯลฯ
3.               แบ่งตามกฎหมาย
1.               พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เช่น แอมเฟตามีน เฮโรอีน LSD ยาอี ฯลฯ
2.               พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตใจและประสาท พ.ศ. 2518 เช่น อีเฟดรีน
3.               พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 เช่น ทินเนอร์ กาว แล็กเกอร์ [1]

อัตราโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
 พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ 2522 /   พ.ร.ก.ป้องกันการใช้สารระเหย 2533 / พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามฯ 2534
 ข้อหา : ผลิต / นำเข้า / ส่งออก

ประเภท 1
 - จำคุกตลอดชีวิต (มาตรา 65 วรรค 1)
- ถ้ากระทำเพื่อจำหน่าย ประหารชีวิต (มาตรา 65 วรรค 2)
- คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 20 กรัมขึ้นไป ถือว่ากระทำเพื่อจำหน่าย ประหารชีวิต (มาตรา 15, 65)
ประเภท 2
 - จำคุก 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท (มาตรา 68 วรรค 1)
- ถ้าเป็นมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน จำคุก 20 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 200,000 บาท ถึง 500,000 บาท (มาตรา 68 วรรค 2)
ประเภท 3
 - จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 70, 20)
- จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 72, 22)
- จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 71, 20)
ประเภท 4
 - จำคุก 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท (มาตรา 73)
ประเภท 5
 - จำคุก 2 ปี ถึง 15 ปี และปรับ 20,000 บาท ถึง 150,000 บาท (มาตรา 75)
- ถ้าเป็นพืชกระท่อม จำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 75 วรรค 2)

ข้อหา : จำหน่าย / ครอบครองเพื่อจำหน่าย

ประเภท 1
 - คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 100 กรัม จำคุก 5 ปีถึงตลอดชีวิต และปรับ 50,000 บาทถึง 500,000 บาท (มาตรา 66 วรรค1)
- คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 100 กรัม จำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต (มาตรา 66 วรรค 2)
ประเภท 2
 - จำคุก 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท (มาตรา 69 วรรค 2)
- ถ้าเป็นมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 100 กรัม จำคุก 3 ปี ถึง 20 ปี และปรับ 30,000 บาท ถึง 200,000 บาท คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่า 100 กรัม จำคุก 5 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 50,000 บาท ถึง 500,000 บาท (มาตรา 69 วรรค 3, 4)
ประเภท 3  (ไม่มีระบุ)
ประเภท 4 - จำคุก 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท (มาตรา 69 วรรค 2)
ประเภท 5
 - จำคุก 2 ปี ถึง 15 ปี และปรับ 20,000 บาท ถึง 150,000 บาท (มาตรา 76 วรรค 2)
  - ถ้าเป็นพืชกระท่อม จำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 76 วรรค 4)




[4] สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.ประเภทของยาเสพติด[ออนไลน์].[http://www.oncb.go.th/PortalWeb/urlName.jsp?linkName=document/c2-narcotics.htm(วันที่ค้นข้อมูล10สิงหาคม2554)